- Line
กรุงเทพฯ – ศบค. เปิดข้อมูลผู้เสียชีวิตโควิด-19 ส่วนใหญ่อาศัยหรือไปพื้นที่ระบาด มีติดเตียง 3 คน อายุ 60 ปีขึ้นไป 68% อายุต่ำกว่า 60 ปี มีโรคเรื้อรัง 23%
วันที่ 5 สิงหาคม 2564 แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ในวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ เพิ่ม 20,920 คน ยอดติดเชื้อสะสม ตั้งแต่ปี 2563 อยู่ที่ 693,305 คน รักษาตัวเพิ่มเป็น 213,910 คน ในจำนวนนี้อาการหนัก 4,993 คน ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 1,058 คน มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 160 คน สะสม 5,663 คน
รายละเอียดผู้เสียชีวิต
เป็นชาย 90 คน หญิง 70 คน อายุระหว่าง 12-95 ปี อายุเฉลี่ย 63 ปี
มีชาวเมียนมา 2 คน
แบ่งเป็นภาคและจังหวัด ดังนี้
♦ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 107 คน
กรุงเทพมหานคร สูงสุด 78 คน
สมุทรปราการ 8 คน
ปทุมธานี 8 คน
นนทบุรี 7 คน
สมุทรสาคร 6 คน
♦ ภาคใต้ 9 คน ใน 4 จังหวัด
ปัตตานี 6 คน, สงขลา ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี จังหวัดละ 1 คน
♦ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 คน ใน 10 จังหวัด
ร้อยเอ็ด 3 คน, กาฬสินธุ์ 2 คน, นครราชสีมา 2 คน, สกลนคร 2 คน, นครพนม บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี จังหวัดละ 1 คน
♦ ภาคเหนือ 7 คน ใน 3 จังหวัด
เพชรบูรณ์ 3 คน, ตาก 3 คน, อุทัยธานี 1 คน
♦ ภาคตะวันออก 13 คน ใน 5 จังหวัด
ชลบุรี 6 คน, ระยอง 4 คน, จันทบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว จังหวัดละ 1 คน
♦ ภาคกลาง 9 คน ใน 3 จังหวัด
นครสวรรค์ 7 คน, ชัยนาท 1 คน, ราชบุรี 1 คน
มีโรคประจำตัวและปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรค
ความดันโลหิตสูง 78 คน
โรคเบาหวาน 52 คน
ไขมันในเลือดสูง 31 คน
โรคไต 28 คน
หลอดเลือดสมอง 15 คน
โรคหัวใจ 11 คน
โรคอ้วน 10 คน
โรคปอด 8 คน
ติดเตียง 3 คน
ตั้งครรภ์ 2 คน
ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19
อาศัย/ไปในพื้นที่ระบาด 86 คน
คนอื่น ๆ 38 คน (ร่วมงาน ข้างบ้าน)
คนในครอบครัว 23 คน
ไปในสถานที่แออัดพลุกพล่าน 6 คน (เรือนจำ รพ.)
ประกอบอาชีพเสี่ยง 3 คน (ค้าขาย พนักงานขับรถ)
บุคลาการทางการแพทย์ 1 คน (พนักงานเปล)
ระบุได้ไม่ชัดเจน 3 คน
ระยะเวลาที่รักษาตั้งแต่ทราบผลติดเชื้อถึงเสียชีวิต
นานสุดถึง 36 วัน เฉลี่ย 10 วัน
อายุ 60 ปีขึ้นไป 107 คน (67%)
อายุต่ำกว่า 60 ปี มีโรคเรื้อรัง 36 คน (23%) ไม่มีโรคเรื้อรัง 15 คน (89%) ตั้งครรภ์ 2 คน กทม. และฉะเชิงเทรา
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :