ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 1 กพ. 2564 สภาพความเสียหาย หลังน้ำท่วมได้คลีคลายลง ชาวบ้านในพื้นที่ ม.2 บ้านจือโมะ ต.ปะกาฮารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี บ้านหลายหลังเดือดร้อนหนัก ความเสียหายของบ้าน ถูกน้ำกัดเซาะตัวบ้าน และพัดพาดินหายไปหมด ส่งผลให้เสาบ้านล้ม และมีหลุมใหญ่ที่เต็มไปด้วยน้ำขัง ด้วยชาวบ้านที่นี่ มีฐานะยากจน และไม่มีงบที่จะมาซ่อมแซ่ม ทำให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ดังกล่าว อยากให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือเร่งด่วน ก่อนที่บ้านและทรัพย์สินจะเสียหายไปมากกว่านี้
โดยเฉพาะบ้านของ นางสาวมารีแย มะแซ ที่อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 49/ 6 หมู่ 2 บ้านจือโมะ ต.ปะกาฮารัง อ.เมือง เป็นบ้านยกสูง และอาศัยอยู่กับลูกและพี่ชาย เปิดเผยว่า บ้านได้รับความเสียหายอย่างหนัก น้ำได้กัดเซาะ และพัดพาดินที่อยู้ใต้ถุนบ้านหายไปหมด ทำให้เกิดเป็นหลุมขนาดใหญ่และมีน้ำขัง ซึ่งปีนี้หนักมาก และมีน้ำเชี่ยว ส่งผลให้เสาบ้านหลายต้นล้มลงมา จนตอนนี้ต้องอยู่ด้วยความหวาดกลัว และกังวล ตอนกลางคืนจะนอนไม่หลับ เพราะได้ยินเสียงโยงไปมาของตัวบ้าน กลัวว่าบ้านจะถล่มลงมา นอกจากนี้ ห้องครัวที่เป็นเพลิงไม้ก็ถล่มหายไปกับกระแสน้ำ อีกทั้งห้องน้ำก็ถูกน้ำพัดไป จนเหลืออยู่ 2 ห้อง
ส่วนฐานะที่บ้านก็ลำบากมาก อาศัยอยู่เพียง 3 คน ก็อยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือถ่มดิน และทำเสาบ้าน ตอนนี้มีเพียงท่อนไม้ค้ำยันพื้นบ้านแทนเสาที่ล้มลง และเชื้อว่ามีแนวโน้มว่าตัวบ้านทั้งหลังจะทรุดและถล่มลง หากไม่รีมซ่อมแซม
นายเริงศักดิ์ แสงแดง ชาวบ้าน หมู่ 2 บ้านจือโมะ ต.ปะกาฮารัง อ.เมือง เปิดเผยว่า ปีนี้น้ำท่วมค่อนข้างแรงกว่าปีที่ผ่านๆมา โดยปกติจะนำกระสอบทรายมากั้น แต่ครั้งนี้กั้นจะกันสูง 60 ซม. แต่ก็กั้นไม่อยู่ ส่งผลให้บ้านหลายหลังถูกน้ำกัดเซาะ และน้ำได้ทำหลายหน้าดินไปหมด
ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านที่รองรับน้ำอยู่แล้ว ทุกครั้งเขือนบางลางจะทยอยระบายน้ำในเขือนออก แต่ครั้งนี้รุนแรงมาก
นายเริงศักดิ์ เผยอีกว่า ภายหลังน้ำท่วมได้คลีคลายลง ความเสียหายในหมู่บ้านแห่งนี้ หลายหลังได้รับความเสียหายอย่างหนัก แม้ว่าชาวบ้านทำกำแพงกั้นทางน้ำ บริเวณจุดน้ำเชียว แต่ก็เอาไม่อยู่ ซึ่งมองว่าหากเขือนบางลางจะทำการปล่อยน้ำ ก็ควรที่จะทยอยปล่อย ไม่ใช่รอให้น้ำเต็มเขือน และปล่อยครั้งเดียว ซึ่งชาวบ้านรับไม่ไหว
นายเริงศักดิ์ เผยตอนท้ายว่า อยากให้ภาครัฐ เข้ามาดูแล และฟื้นฟู ไม่ใช่ช่วยเฉพาะช่วงน้ำท่วม แต่หลังน้ำลดชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน หลักๆก็อยากให้รัฐเข้าถมดินบริเวณที่มีหลุม หรือจุดที่ถูกน้ำกัดเซาะ ซึ่งลำพังชาวบ้านที่หาเช้ากินค้ำมาซ่อมแซม ก็ไม่มีเงิน เพราะชาวบ้านที่นี่ลำบาก
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ในขณะเดียวกันพื้นที่การเกษตรของชาวบ้าน ประมาน 500 ไร่ ก็ได้รับความเสียหาย และยังไม่ได้รับการเยียวยาแต่อย่างใด