นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง ส.ส.แบบัญชีรายชื่อ และ เลขาธิการพรรคประชาชาติ นายมุข สุไลมาน นาย อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู รองหัวหน้าพรรค นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ ส.ส. จังหวัดปัตตานี เขต.4 นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.นราธิวาส เขต 4 นายซูการ์โน มะทา ส.ส.จังหวัดยะลา เขต.2 นายอับดุลอายี สาแม็ง ส.ส.จังหวัดยะลาเขต 3 นายมูฮำมัดอารีฟีน จะปะกิยา ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. จังหวัดปัตตานี เขต 2 นายเจ๊ะซู ตาเหย็บ นายอัฟฟาน หะยียูโซะ ว่าที่ สมัคร ส.ส.ในสังกัดพรรคประชาชาติ ของ จ.นราธิวาสเขต 1 และเขต 2, นายสุไลมาน บือแนปีแน ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.จ.ยะลา เขต 1 และคณะ ร่วมพบปะและหารือแนวทางการแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จาก ศ.กิตติคุณ Professor Emeritus Dato’ Dr Torla Hassan ในโอกาสนี้ ทางคณะ ได้กล่าวชื่นชม ในผลงาน การผลิตบุคลากร ที่มีคุณภาพ และบริหารงานให้กับนานาประเทศ อีกด้วย
สำหรับ ศ.กิตติคุณ Professor Emeritus Dato’ Dr Torla Hassan เป็นชาวนราธิวาส ที่ เรียนจบ ดร.จากประเทศ สก๊อตแลนด์ จบปริญญาตรี ประเทศคูเวต ได้รับทุนจาก จุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสน์ จุฬาราชมนตรี และในช่วงวัยเด็กเรียน ที่โรงเรียนใน อ.ยีงอ จ.นราธิวาส เริ่มแรกมาเลเซียเขาจะเปิดมหาลัย ที่สอนอยู่ตอนนี้ และตอนนั้น ผมกำลังเรียนโท อยู่ ก็ชวนผมมา แล้วให้ทุนไปเรียนต่อ ปริญญาเอก เรียนจบกลับมาเลเซีย ได้รับทุนจากประเทศ สาอุดีอารเบียด้วย หลังเรียนจบกลับมาทำงานที่มาเลเซีย 1 ปี แล้วมหาวิทยาลัย บรูไน ขอยืมตัวไป ไปสอนที่มหาลัยบรูไน 5 ปีกว่า หลังจากนั้น ที่มาเลเซียจะเปิด คณะแพทยศาสตร์ ทั้งที่ผมไม่ได้เรียน แพทยศาสตร์ แต่มาบริหาร อยู่ที่นั้น 2 ปี แพทยศาสตร์ ที่กวนตัน รัฐปะหัง ตอนนั้น อันวา อิบรอเฮม เป็นรัฐมนตรีศึกษาธิการ ให้ไปเปิดสาขา มหาวิทยาลัยต้มยำ ที่ตรังกานู 2 ปี แล้วกลับมา มหาลัยที่ กัวลาลัมเปอร์ เปิดสาขาคณะ วิทยาศาสตร์ และแต่งตั้งให้เป็นเป็นคณะบดี ของ International Institute of Islamic Thought and Civilization (ISTAC) เป็นคณะระดับปริญญาโท ไม่มีปริญญาตรี เป็นคณะบดีที่นั้น และจากนั้นเป็นคณะบดีที่อื่นอีก หลายๆที่ สุดท้ายเป็นรองอธิการ การศึกษาและบริหาร หลังจากนั้น ประเทศคูเวต เชิญไปเป็นอธิการ ผมก็ตกลงไป จากนั้นเขาบอกให้อยู่ 10 ปี ผมไปอยู่ได้ 10 เดือน เพราะโควิดมา ก็กลับมาอยู่มาเลเซีย จนถึงปัจจุบัน
ศ. กิตติคุณ Professor Emeritus Dato’ Dr Torla Hassan ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า ตอนนี้เราหนีไม่พ้นภาษาอังกฤษ เพราะ โลกเจริญขึ้น ด้านคมนาคมอะไรต่างๆ มีความเชื่อมโยงกัน ก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้นพวกเราต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น ในมหาวิทยาลัย ในแคมป์ ควรใช้ภาษาอังกฤษ นอกจากภาษาไทย อาจจะมีภาษาอื่น ภาษาจีนด้วย ให้มีการอบรมในด้านธุรกิจ เราต้องผลิต นักศึกษาที่จบมาแล้วทำงานเองได้ ไม่ใช่ว่ารอแต่การ เข้ารับการ เพราะราชการก็ต้องจำกัด ให้ทุกคนมีโอกาส ที่รู้ได้ด้านการค้า หลังจากนั้นก็แล้วแต่เขา ที่จะทำอะไร อย่างน้อยให้เขาได้มีโอกาส ได้เรียนรู้ ธุรกิจ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เขาต้องจบไปแล้วผลิต นักศึกษา ที่ไม่ใช่ว่ารอแต่งานจากคนอื่น เขาผลิตงาน ๆ เขาจะเปิดโอกาสคนอื่นมาหาเขาไม่ใช่ว่าเขาไปหาคนอื่น อันนี้สำคัญมาก
ปัญหาสามจังหวัด ผมว่าดีที่สุด ควรแก้ที่การศึกษา สองได้มีโอกาสได้งานทำ ที่เรียน ปรับปรุงให้เศรษฐ์กิจดีขึ้น ปัญหาการศึกษาสำคัญมาก เข้าใจว่า โลกวันนี้เจริญมาก ถ้าเราไม่มีความรู้ ก็ไม่เจริญ ที่ไหนก็ตาม แล้วต้องแข็งกับทุกชาติ ถ้าเขาวิ่งเราก็ต้องวิ่งให้เร็วขึ้น ไม่ใช่ว่า เขาวิ่งเราเดิน ก็เหมือนกับว่าเราถอยหลัง
ผมคิดว่าเด็กในสามจังหวัดดี ที่เรียนจบมาแล้วก็เยอะ แต่ว่าต้องปรับปรุง โลกเปลี่ยนแปลงไปเยอะตอนนี้ ต้องเปลี่ยนตามเขา โอกาสการทำงาน ก็เหมือนกัน ไม่เฉพาะแต่ทางใต้ แต่ทั่วประเทศ ก็ต้องปรับ ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย สิงคโปร์ เพราะว่า ต่อไปไม่ทันเขา การลงทุน ต้องรู้ภาษาให้มาก ต่างชาติมาลงทุน ถ้าไม่มีภาษาก็ยาก แล้วการศึกษาก็เหมือนกัน ต้องปรับปรุง ไม่ใช่เรียนทฤษฎีอย่างเดียว ไม่ใช่ว่าเอาตำรา 20-30 ปีที่แล้วมาสอน อย่างน้อยเดือนหนึ่งต้องอยู่กับบริษัท ต้องเน้นหลักการปฏิบัติ
สำหรับเด็กบ้านเราที่มาเรียนในประเทศมาเลเซียมีจำนวน พันกว่าคนที่มาจากทั่วประเทศ เมื่อก่อน มหาลัยที่ผมสอนอยู่ มีประมาณ สามพันกว่าคน แต่ตอนนี้จำนวนน้อยลง เพราะค่าธรรมเนียมสูง แล้วเขาหาทุนไม่ค่อยได้ คือ มหาลัยที่ผมสอนอยู่ มี นักศึกษามาจาก 120 ประเทศ ต้องเข็งกับเขา พวกเรา เก่ง แต่ ด้านภาษาอ่อน ผมถึงว่าเรื่องภาษาสำคัญมาก ภาษาอังกฤษต้องเก่ง และภาษาไทย ไม่สามารถว่าดีหรือเปล่า ตอนผมเรียนจบ มส.5 ที่ นราธิวาส เมื่อก่อนคนพูดไม่ค่อยชัด ผมเองก็พยายาม ดีขึ้นแต่ก็ไม่ดีมาก 2 – 3 อย่างที่เป็นกุญแจ ภาษา และ ไปเรียนสังคม จิตวิทยา การเมือง ไปเรียนด้านภาษา สบายถ้า วิทยาศาสตร์ดี เรียน วิศวะสบาย ถ้าไม่ดีคณิตศาสตร์ เราเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ได้เรียนวิศวะก็ไม่ได้
และ เด็กบ้านเราส่วนมากจะเรียน ตามเพื่อน เพื่อนเรียนอะไรก็เรียนตาม ไม่สามารถว่าการแนะแนวที่โรงเรียนเป็นอย่างไร เด็กเลือกเรียน สาขาวิชาที่ไม่ค่อยมี ที่บ้านเรา หรือ เลือกเรียนสาขาที่ คนเรียนกันน้อย แต่มาเรียนตามเพื่อนๆเลือกวิชาอะไรเราก็เรียนตามเขา กลับไปล้นตลาดอันนี้สำคัญ
ในส่วนของ เรื่องการเมืองไม่ค่อยติดตามอะไรมาก แต่พอรู้บ้าง เราไม่ค่อยสามัคคีกัน นักการเมืองทางใต้เรามีไม่มาก เราต่างคนต่างอยู่ เรามีผู้นำดีๆ ไม่กี่คนในประวัติศาสตร์เรา อนาคตข้างหน้าก็เหมือนกัน จะหาคนอย่างแบนอร์ ( นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ) หายากมาก ทำอะไรทำเต็มที่ เราไปไม่ได้ถ้าเราไม่ร่วมมือช่วยกัน อยากเห็นความสามัคคีกัน ต้องแก้ปัญหาตรงนี้”