เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด
เมื่อวันที่ 17มกราคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากีณีการเสียชีวิตของนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ อย่างสงบที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ หรือโรงพยาบาล มอ.หาดใหญ่ เมื่อเช้ามืดวันที่ 25 ส.ค. 2562 หลังจากรักษาตัวอยู่ในห้องไอซียูมา 35 วัน ในสภาพที่ไม่สึกตัว ส่งมาจากโรงพยาบาลปัตตานี โดยเจ้าตัวถูกควบคุมตัวที่ศูนย์ซักถามค่ายอิงคยุทธบริหาร หนองจิกปัตตานี ในฐานะผู้ต้องสงสันคดีความมั่นคงแค่ค่ำคืนเดียว จนกลายบเป็นประเด็นที่สังคมถามว่าเกิดอะไรขึ้น
หลังเสียชีวิตญาติผู้ตายเดินหน้าถามหาความจริง ทวงความเป็นธรรมจากรัฐจนถึงทุกวันนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่เป็นธรรม มีการเดินทางเรียกร้องขอคืนความเป็นธรรมจากหลายหน่วยงานที่ญาติรู้สึกมีความหวังที่จะสามารถคืนความเป็นธรรมได้ เช่นสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เป็นองค์กรอิสระ สำนักงานกรมสืบสวนคดีพิเศษ กรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นต้น
สุดท้ายองค์กรเหล่านั้นได้ทยอยถอนตัวตามรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ลงวันที่ 24 มีนาคม 2564 เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิฯ ได้ลงพื้นที่ศูนย์ซักถามผู้ต้องสงสัย อย่างน้อย 3 ครั้ง และที่ประชุมคณะกรรมการสิทธิฯ มีความเห็นให้ยุติการสองสวนลง ตามมาตรา 39 (1) ประกอบมาตรา 39 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 ด้วยเหตุผลว่า ยังไม่ปรากฏหลักฐานทางการแพทย์ที่ระบุชัดเจนถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้ตายบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยและไม่มีพยานหลักฐานระบุได้แน่ชัดว่า มีผู้ใดทำให้ผู้ตายบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย
ประกอบกับในระหว่างการสอบสวนพบว่า พนักงานอัยการจังหวัดสงขลาได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดสงขลาขอให้ไต่สวนการตายของผู้ตาย… กรณีตามประเด็นการร้องเรียน จึงเป็นประเด็นเดียวกันกับที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาล
ล่าสุด เมื่อวันเสาร์ที่ 15 มกราคม 2565 ได้มีหนังสือแจ้งมาจากสำนักงานสืบสวนคดีพิเศษDSI ถึงนางซูไมยะห์ มิงกะ ภรรยาของนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ เพื่อแจ้งผลการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษครั้งที่1/2564 โดยมีเนื้อหากรมสืบสวนคดีพิเศษDSI ขอยุติการสืบสวนคดีการตายของนายอับดุลเลาะ เป็นไปตามคำสั่งของ นายทวีวัฒน์ สุรสิทธิ์ ผู้อำนวยการคดีความมั่นคง ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีสอบสวนคดีพิเศษ
โดยได้ชี้แจงเพียงว่าในการนี้กองคดีความมั่นคงกรมสอบสวนคดีพิเศษได้รายงานผลการดำเนินข้างต้นต่อคณะกรรมการคดีพิเศษครั้งที่1/2564 เมื่อวันที่13ธันวาคม2564 คณะกรรมการคดีพิเศษมีมติรับทราบ ผลการดำเนินการในกรณีดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขอแจ้งให้ท่านทราบว่า ท่านมีสิทธิยื่นเรื่องต่อกรมสืยสวนคดีพิเศษเพื่อให้คณะกรรมการคดีพิเศษพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อมีข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญที่ยังไม่ได้ถูกนำเสนอในคำร้องครั้งก่อน
นางซุไมยะห์ เผยว่ารู้สึกผิดหวังกับหน่วยงานของรัฐที่เคยตั้งความหวังที่จะได้รับคืนความเป็นธรรมให้กับครอบครัว แต่เราไม่ยุติจนกว่าครอบครัวจะได้รับคืนความเป็นธรรม ส่วนจะยื่นใหม่กับกรมสอบสวนคดีพิเศษไหมนั้น คงต้องรอฝ่ายทนายดูก่อนเพราะภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ศาลจังหวัดสงขลามีนัดสอบปากพยานฝ่ายเสียหายอีก4ปาก กรณีการไต่สวนการตาย
การที่ญาติได้ยืนหนังสือขอความเป็นธรรมกรณีการเสียชีวิตของนายอับดุลเลาะ เพื่อให้กรมสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษช่วยสืบสวนหาพยานหลักฐานเพื่อดำเนิเอาผิดกับผู้กระผิดตามกฎหมาย เพราะญาติไม่สามารถนำหลักฐานมาดำเนินเอาผิดตามที่เป็นอยู่ แต่กลับให้ญาติหาหลักฐานใหม่ให้สอบสวนแล้วญาติจะไปหาที่ไหน
ด้านนายรอมฎอน ปันจอร์ ผู้ปฏิบัติงานคณะก้าวหน้าชายแดนใต้/ปาตานี ได้กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า สาเหตุที่อธิบดี สั่งยุตินั้นไม่ได้แจ้งว่าเป็นไปด้วยเหตุผลอันใด มีข้อเท็จจริงชนิดไหนที่การเข้ามารับทำคดีนี้ของ DSI ในตอนแรกจำเป็นต้องหยุดลง
คดีนี้สะเทือนขวัญและอ่อนไหว โยงใยถึงอำนาจควบคุมและบทบาทของกองทัพโดยตรง ได้รับความสนใจจากสาธารณะทั้งในและนอกพื้นที่ (รวมไปถึงนอกประเทศด้วย) กรณีนี้ยังเป็นกรณีแรกๆ ที่ ส.ส.จากพรรครัฐบาลและฝ่ายค้านในพื้นที่ผนึกกำลังกันทวงถามและติดตามมาตั้งแต่แรก
แรงกดดันช่วงแรกที่อับดุลเลาะเสียชีวิตไปด้วยเหตุผิดปกตินั้นน่าจะมีส่วนผลักดันให้ DSI เข้ามารับทำคดี แต่เมื่อ 2 ปีผ่านไป แรงกดดันเริ่มน้อยลง ก็ผละมือกันเสียง่าย ๆ เช่นนี้ คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างการชันสูตรไต่สวน ซึ่งนับว่าล่าช้าอย่างมาก ผลของการไต่สวนจะกำหนดทิศทางของคดีอาญาในเวลาต่อมา นี่อาจเป็นเหตุผลให้ล่าช้า เกินงาม
กรณีนี้ยังอยู่ในระหว่างห้วงเวลาที่ในรัฐสภากำลังพิจารณาร่างกฎหมายสำคัญอันหนึ่ง ซึ่งหากประเทศนี้บังคับใช้ได้ก่อนหน้านี้ หน้าตาของกระบวนการยุติธรรมต่อกรณีซ้อมทรมานจะเป็นอีกแบบ นั่นก็คือ ร่าง พ.ร.บ.การป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานและบังคับสูญหาย ซึ่งประเทศไทยต้องเดินตามคำสัญญาที่เคยไปผูกพันธะเอาไว้กับประชาคมระหว่างประเทศ ขณะนี้ร่างกฎหมายใกล้จะแล้วเสร็จแล้ว กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาวาระ 3 ของสภาล่าง