วันที่ 17 ม.ค.65 พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ พร้อมด้วย นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ รองหัวหน้าพรรคประชาชาติ นายกูเฮง ยาวอหะซัน ส.ส.นราธิวาส เขต 3 พรรคประชาชาติ นาย กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.นราธิวาส เขต 4 พรรคประชาชาติ นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ ส.ส.ปัตตานี เขต 4 พรรคประชาชาติ นายอับดุลอายี สาแม็ง ส.ส.ยะลา เขต 3 พรรคประชาชาติ และคณะ เดินทางพบปะพี่น้องประชาชนชาวนราธิวาส และ จังหวัดยะลา เพื่อรับฟังปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 (เขาบูโด สุไหงปาดี) ที่ เครือข่ายการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยเทือกเขาบูโด ที่ บ้านมาแฮ ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ และ พบปะผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ตัวแทนครูตาดีกา ที่โรงเรียนรอมาเนีย อ.แว้ง และ ได้เข้าเยี่ยม ประชาชน และผู้นำในพื้นที่ และคณะครู ผู้บริหาร ที่ โรงเรียนสัมพันธ์วิทยา อ.เจาะไอร้อง เนื่องในโอกาสได้รับรางวัลพระราชทานและ ผู้บริหารดีเด่นระดับภาคใต้ จากนั้นได้เข้าเยี่ยม โรงเรียนดารุสสาลาม อ.ระแงะ อีกด้วย
พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า มีพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบปัญหาที่ดินและป่าไม่ ที่ทำกิน ที่เกิดจาก พ.ร.บ.อุทยาแห่งชาติ 2562 พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้มีการ แก้ไขพ.ร.บ.เดิม ทั้งหมดยกเลิก ปรากฏว่ามีผลกระทบอย่างรุ่นแรง กับพี่น้องในสามจังหวัดเป็นวงกว้าง เขา บูโด – สุไหงปาดี ทรายขาว รวมถึงพื้นที่อื่น เพราะว่า ใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีบทบัญญัติหลายมาตรา ที่เป็นการละเมิดสิทธิ์มนุษย์ชน ที่ละเมิด ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น มีการใช้ พ.ร.บ.เดิมขึ้นมา ไปทับที่ ของประชาชน ที่อาศัยอยู่ประมาณ สองแสนหกหมื่นไร่ เป็นวงกว้าง พอไปทับที่แล้ว ในขณะนั้น กฎหมายฉบับ เดิมก็บังคับใช้ไม่ได้ จึงมีมติครม. อยู่หลายฉบับ และ มีมติครม. 2541 มติครม. 2551 ให้พิสูจน์ ว่าประชาชนที่อยุ่ ในที่นี้ก่อนประกาศ พ.ร.บ.อุทยาน หรืออยู่หลังประกาศ พ.ร.บ.อุทยาน แล้วพบว่ามีการพิสูจน์ โดยหน่วยราชการและประชาชน
การพิสูจน์นี้ก็ไม่ได้พิสูจน์ แต่เฉพาะ ความเป็นจริง ของความเป็นอยู่เท่านั้น ยังพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ด้วย มีการใช้ จีพีเอส ด้วย จนกระทั้ง ทางราชการ ได้รับทราบว่า ประกาศอุทยานเดิม ทับที่ประชาชน แล้วได้มอบ เอกสารให้ประชาชน ว่า ราชการ มาประกาศทับ ต่อมา ปี 2562 มี พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ ฉบับนี้ มาใช้บังคับว่าคน ที่อยู่ในพื้นที่นี้ เป็นผู้ทำผิดกฎหมายทั้งหมด ทั้งที่เดิม พื้นที่ประมาณ 4.7 ล้านไร่ เป็นที่ให้มีการพิสูจน์ แต่อยู่ ๆ กฎหมายในขณะนั้น ได้ประกาศว่า เป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ เป็นผู้บุกรุก ทั้งหมด ในขณะที่กฎหมายก็ออกและ มีประชาชนได้ลงชื่อ หมื่นกว่าชื่อ เพื่อขอมีกฎหมายของตัวเอง ที่ต่างไปจากกฎหมาย ฉบับนั้น แต่ปรากฏว่า กฎหมายในสมัย สนช.ก็ไม่ได้เอากฎหมายของประชาชนมา
พ.ต.อ.ทวี กล่าวต่อว่า ที่สำคัญมีกฎหมายที่ออกมาประชาชนในเขตอุทยานที่พิสูจน์สิทธิเป็นผู้บุกรุกทั้งหมดทั้งที่ในพื้นที่บูโด-สุไหงปาดีพิสูจน์แล้วประมาณ 90%รัฐประกาศเขตอุทยานทับที่ประชาชน แต่อยู่มาตราหนึ่ง เพื่อเป็นการผ่อนคล้ายว่า ถ้าใครสามารถพิสูจน์ว่าอยู่มาก่อน หรือเป็นพื้นที่ทำมาหากินมาก่อน ให้มาแสดงตัวหรือมาแจ้ง ภายใน 240 วัน ซึ่งครบไปแล้ว อันนั้นคือที่ดิน 4.7 ล้านไร่ ที่รัฐจะไปพิสูจน์ว่า ประชาชนบุกรุก หรือรัฐบุกรุกประชาชน สรุปว่าประชาชนเป็นผู้กระทำผิดแต่ผ่อนคลายให้มาแสดงตัวจะให้อยู่ในเวลา 20 ปี ในเนื้อที่ ไม่เกิน 20 ไร่ อันนี้คือสิ่งที่ประชาชนที่ดินเป็นสิทธิของประชาชนรัฐเป็นผู้บุกรุก เห็นว่ากฎหมายมีผลกระทบเป็นวงกว้าง พร้อมให้อำนาจ เจ้าหน้าที่ ไปออกกฎหมายลูก อีก
“เราขอเพียงว่า พื้นที่ ที่ประชาชนอยู่ก่อน ประกาศอุทยาน ฉบับเก่า และประกาศกฎหมายทุกชนิด อยู่ก่อนกฎหมายที่ดิน ก็ขอให้ประชาชนมีสิทธิ์เป็นเจ้าของ ตามสิทธิ์โดยทั่วไป ไม่ได้มาเรียกร้องอะไร ซึ่งในจำนวนนี้ จากข้อมูล ของภาคประชาชนได้ทำ มีประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ของ สองแสนหกหมื่นไร่ ประชาชนอยู่มาก่อน พ.ร.บ.อุทยาน พ.ร.บ.ป่าสงวน และกฎหมายที่ดิน
วันนี้พอได้รับฟังก็ได้รู้ว่า เรื่องนี้เป็นปัญหา ไม่ใช่แค่ปัญหาสามจังหวัดเป็นปัญหาที่ดิน ของคนทั้งประเทศ ถ้าประเทศไทยยัง ไม่มีความเป็นธรรมเรื่องที่ดิน ความขัดแย้งก็จะมีทุกแห่ง เพราะที่ดินเป็นที่อยู่ของคน”